คุณรู้จัก blog นี้ได้อย่างไร

คำแนะนำ

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน




พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า”
(พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 11 สิงหาคม พศ. 2548 ณ.ศาลาดุสิดาลัย)
เมื่อปี พศ.2545 สมเด็จพระราชินีได้เสด็จ ณ.โรงเรียนบ้านหนองหินตั้ง ต.นาเหล่า อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู เพื่อเยี่ยมเยือนราษฎรท่านทรงมีพระเมตตากับราษฎร ที่บ้านหนองหินตั้ง และ หมู่บ้านใกล้เคียง และปี พศ.2545 ท่านทรงมีพระเมตตากับราษฎรบ้านหนองหินตั้งทรงได้มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริก่อสร้างทำนบดิน ขุดลอกห้วยซำปาคาด ณ.บริเวณพื้นที่ ไร่คุณเหรียญ (ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ) ความจุ 40000 ลูกบาศก์เมตร มอบให้ ณ.วันที่ 1 สิงหาคา พศ.2545 โดยกระทรวงกระเษตรและสหกรณ์ และมีประชาชนในหมู่บ้านรวมทั้งหมู่บ้าน ใกล้เคียง เข้ามาใช้น้ำและหาปลาเพื่อยังชีพ และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นวันลอยกระทง ฯลฯ นางเหรียญ ศรีวังแจ ก็ยังได้พัฒนาสวนและเดินตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในแนวทางเศรษกิจพอเพียง โดยทำเกษตรผสมผสาน และพึ่งตนเองแบบพอเพียงโดยทำมาเป็นเวลานาน จนถึง ณ.ปัจจุบัน พศ. 2552 เดือนมกราคม ณ.ไร่คุณเหรียญ จากสวนเกษตร (ไร่คุณเหรียญ) ได้พัฒนามาเป็น แหล่งเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งตนเอง เพื่อเป็นศูนย์กลาง อบรม แหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน และเผยแพร่การสอนทำเกษตรแบบเศรษฐกิจ พอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีชื่อว่า “ ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ ”

ศูนย์์ป่ารักษ์น้ำแหล่งเรียนรู้ชุมชนทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิตที่เป็นจริงกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะวิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพออยู่พอกินตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้อง การเรียนรู้ของชุมชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และพัฒนาแบบพึ่งตนเองเป็นศูนย์ฯของประชาชนที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชนที่จะก่อ ให้เกิด ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน
:: ความหมายของ ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ “ มีน้ำ มีป่าชีวิตก็เพียงพอ ”::
เพื่อให้การดำเนินการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลท้องถิ่นตลอดจนองค์กรเอกชนต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประ สิทธิผลต่อการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนของมนุษย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตฉบับที่ 10 ในการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มิคุณค่าและคุณภาพในด้านต่างๆนั้น จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชากรของประเทศ ให้มีความรู้ มีประสบการณ์ มีทักษะ มีคุณธรรมในการบริหารตนเองชุมชน & องค์กรฯ ประเทศชาติทั้งในด้านผู้นำและผู้ตาม อย่างถูก ต้อง จึงจะส่งผลให้สังคมประเทศชาติมีเสถียรภาพมีความสงบสุขอย่างยั่งยืนและถาวร จากหลักฐานในเบื้องต้น ชุมชน ท้องถิ่นจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรม แหล่งเรียนรู้ทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิตที่เป็นจริงกับระบบเศรษฐกิจ สังคมให้มากที่สุด สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะวิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการ บริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดหนองบัวลำภู ภายใต้ วิสัยทัศน์ “ หนองบัวลำภูเมืองน่าอยู่ เคียงคู้รู้ค่าธรรมชาติ ชาญ ฉลาดทำกิน ดินแดนสันติสุข ในการนำวิสัยทัศน์ข้างต้นของจังหวัดมา ดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างคนในชุมชน ให้เข้าใจวิถีเศรษฐกิจพอเพียง จึงจัดตั้งศูนย์กลางเพื่อเรียนรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสร้าง ภาคีเครือข่าย เชื่อมโยง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง จึงมีการจัดตั้งศูนย์ฯแห่งนี้ขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น