คุณรู้จัก blog นี้ได้อย่างไร

คำแนะนำ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพร



ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยด้านสมุนไพร โดยใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพในการรักษาที่ดีขึ้น ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า โครงการวิจัย 2 โครงการด้วยกัน คือ โครงการพัฒนาสารสกัดสมุนไพรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษาสิว และโครงการพัฒนาสารสกัดสมุนไพรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษาเส้นเลือดขอด โดยคาดว่าทั้ง 2 โครงการจะใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนาประมาณ 2 ปี นายมานิต กล่าวว่า การใช้นาโนเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร นอกจากจะช่วยพัฒนาสมุนไพรไทยแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการเก็บรักษายืนอายุการใช้งานของสารสกัดสมุนไพรให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ขณะที่ นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ที่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยมีศูนย์พัฒนายาไทย ที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านสมุนไพร ซึ่งได้ประสานกับทางศูนย์นาโนเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ การคัดเลือกสมุนไพรเพื่อนำมาวิจัยนั้น เป็นการคัดเลือกจากกลุ่มสมุนไพรที่นำมาใช้ทาและซึมผ่านผิวหนัง เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย อาทิเช่น เปลือกมังคุดที่มีคุณสมบัติใช้เป็นยารักษาสิว และใบบัวบกที่รักษาอาการฟกช้ำ และยังมีคุณสมบัติรักษาเส้นเลือดขอดได้
แหล่งข่าวโดย.... เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงกับชีวิตประจำวัน


วันสำคัญของปวงชนชาวไทยได้ผ่านพ้น มันคงเหมือนทุกๆปีที่พวกเราปวงชนชาวไทยแสดงความจงรักภักดีกับในหลวงใส่เสื้อเหลืองหรือจุดเทียนชัย แล้วขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ ทุกๆคนมีความสุขที่วันนี้ เป็น 1 วันที่จะได้ยินเสียงในหลวงและฟังท่านตรัสเรื่องต่างๆ ให้พวกเราได้ฟัง ผมได้เห็นใบหน้ายิ้มแย้มของคนไทยทุกหมู่เหล่า ที่ดูทีวีแล้วมีความสุขที่ได้ยินในหลวงตรัสเรื่องต่างๆ
ทุกๆคนมีความสุขที่ได้ยินในหลวงตรัสในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าเรื่องความสามัคคี การปรองดอง และเศรษกิจพอเพียง ไม่ว่าผ่านมากี่ปีท่านยังพูดเรื่องเดิมอยู่ ทำให้ผมได้คิดว่าทำไม ท่านยังพูดแต่เรื่องเดิมๆมานาน แม้ท่านจะเหนื่อยชรา ปชวร ท่านก็ยังพูดแต่เรื่องเดิม
ในใจผมคิดว่า ท่านคงคิดว่าประชาชนคนไทยหูหนวกหรือว่ากระไร ทำไมทุกปียังเหมือนเดิม คนไทยมีความสุขที่มีในหลวงทรงคิดกาลไกล มีความสุขที่มีในหลวงที่ทรงอัฉริยะภาพ
มีความสุขที่ได้ยินในหลวงทรงมาเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังในวันที่ 5 ธันวา แต่ไม่ว่าผ่านมาอีกกี่ปีทุกๆอย่างก็ยังเหมือนเดิม นับวันความพอเพียงก็ไม่เคยพอ ความปรองดองก็กลายเป็นการแตกแยก คนไทยยังตีความหมายอะไรผิดๆ ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ คนเราก็เกิดมาจากร้อยพ่อพันธ์แม่ คำพูดเดียวกันแต่หลายคนที่ตีความหมายผิด แต่ไม่ว่าจะผิดหรือถูก เราควรจะเข้าใจและให้เกียร์ตวิธีคิด การพอเพียงและปรองดองให้เป็นอย่างดี
ว่ากันเรื่อง พอเพียงกับพอตัวเอง มันต่างกันพอเพียงได้น้อยใช้น้อย ได้พอประมาณก็ใช้พอประมาณ ได้มากก็เหลือเก็บหรือแบ่งปัน รู้ว่าอะไรควรซื้ออะไรจำเป็น บางคนเงินก็ยังไม่มีต้องกู้ยืมเงินเพื่อนหาซื้ออะไรที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันนอกจากปัจจัย 4 จนเป้นหนี้เป็นสิน สิ่งสำคัญสำหรับการพอเพียงคืออย่าเป็นหนี้ ได้เยอะก็แบ่งปันพอสมควร ได้น้อยก็ประหยัดอย่างที่กล่าวมาข้างต้น เกิดเป็นคนต้องมีน้ำใจ ส่วนพอตัวเองคือทำอะไรก็ได้น้อยๆประหยัดให้ตัวเองรอด พอเพียงแต่ตัวเอง หามาเพิ่มเยอะๆ ให้ตัวเองมีเยอะๆ แต่ใช้น้อยๆ เพื่อจะได้มีทรัพสิน ที่มากกว่าปัจจัยสี่ ตัวเองรอดคนอื่นจะเป็นยังงัยช่างมัน นี้ก็ผิดไม่ใช่หลักเศรษฐกิจพอเพียง การพอเพียงต้องเอื้อทั้ง ทรัพสินและน้ำใจให้พอเหมาะ ว่ากันตามจริงเรื่องเศรษกิจพอเพียงมันอยู่กับสังคมไทย มานานแล้ว ที่ชาวบ้านพากันหาปลูกผักพลไม้ หาเงิน มีเหลือก็แบ่งปันเพื่อนบ้านบ้าง สำคัญคือการพอเพียง คือการมีน้ำใจ ซึ่งกันและกันแต่ถึงยังงัยก็ยังมีคนตีความหมายผิดไปอีกหลายรูปแบบ เพื่อให้ตัวเองดูดีและรักในหลวงที่มีความพอเพียง
ส่วนการสามัคคีปรองดองกับการปกครองก็ต่างกัน ก็ยังมีคนตีความหมายผิดว่าการปรองดองสามัคคี คือการอยู่กันเป็นกลุ่มและแต่ละคนต้องเป็นแบบนี้แบบนั้น ถ้าไม่เหมือนกัน ก็ถือว่าคนนี้ไม่อยากมาดองกัน กลายเป้นกลุ่มอิทธิผลเพื่อชื่นชอบกันของแต่ละกลุ่ม ซึ่งต้องชอบอะไรเหมือนกันๆ แต่มันก็กลายเป็นการปกครองคนเรามีร้อยพ่อพันธ์แม่ จะทำให้ทุกคนมาเป็นแบบเดียวกันก็คงยาก บางทีต้องเข้าใจกันบ้าง ว่าสิ่งที่เราคิดก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด คนแต่ละคนก็มีทางออกในตัวเขาเองไม่ว่าทางไหน สิ่งที่ทำก็อย่าทำให้ใครเดือดร้อน ดังนั้นการปรองดอง จึงไม่ใช่การปกครอง หรือมีอิทธิผล การปรองดองคือการเข้าใจเขา เขาจะทำอะไรก็ปล่อยเขาเขาทำดีก็ยินดี เขาทำอะไรไม่ถูก ก็เฉยๆไม่ต้องกลัว ทุกๆอย่างมันอยู่ที่ใจ คอยช่วยคนที่ลำบากก็เพียงพอ ไม่ต้องไปควบคุมอะไรมากมาย เพราะคนทุกคนมีธรรมชาติของตัวเอง เพราะ
พวกเราเป็นมนุษย์สามารถทำอะไรถูก หรือทำอะไรผิด ได้เท่าเทียมกัน ไม่มีใครที่เกิดมาโดยไม่เคยทำอะไรผิด ดังนั้นถ้าให้เกิดการปรองดอง เราควรจะช่วยๆเหลือคนที่ไม่รู้ ไม่ต้องสนว่าเขาจะใช้เรา หรือเขาจะก้าวข้ามเราไป ถ้าเรามีความเข้าใจอะไรแล้ว ความปรองดองจะเกิดขึ้นทุกหมู่เหล่า ทุกๆอย่างต้องเข้าใจ และมีน้ำใจต่อทุกๆคนด้วยแล้วพวกเราจะได้รู้จักคำว่าการปรองดองที่แท้จริง การปรองดองทุกๆคนจะมีอิสระต่อกันและเข้าใจ อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข คล้ายๆชาวบ้านในบ้านนอกซึ่งมีความปรองดองทั่วๆกัน ส่วนการปกครองเหมือนสังคมเมืองที่ทุกคนต้องทำตามกฏที่คนนั้น คนนี้ตั้งไว้ แต่คนนั้นที่ตั้งกฏไว้ ก็ไม่สามารถทำตามกฏได้เอง นี้แหละทำให้คนเราแตกแยกกัน
ไม่รู้ว่าสิ่งที่ผมเสนอบางคนจะเข้าใจหรือ สนใจแค่ไหน ผมรู้บางคนอาจจะไม่ชอบในสิ่งที่ผมเขียนไปและไม่เข้าใจ ผมเองก็ไม่ถือตัวว่าผมเข้าใจในสิ่งที่ในหลวงพูด แต่อย่างน้อยมันก็มาจากความรู้จากใจ ของกระต่ายน้อยคนนี้ ก็คงจะใกล้เคียงสิ่งที่ในหลวงได้กล่าวไม่มากก็น้อย
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานอาสาสมัครเพื่อในหลวง Supertunt กระต่ายน้อยใจใหญ่

เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน


ประเทศไทยยังไม่ถึงคราวตกอับ ยุคที่เลวร้ายสุดๆ ก็จะมีคนดีๆ อาสาเข้ามาช่วยกอบกู้สถานการณ์ แต่ก็อย่านิ่งนอนใจเสียทีเดียว เพราะคนไม่ดี มักมีพลังและกลยุทธ์เหนือกว่าคนดีอยู่เสมอ ดูซิประเทศไทยก็ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านกลิ่นคาวของวัฒนธรรมบริโภคนิยม ผ่านความโกลาหลก็หลายครั้ง เพราะไปพัฒนากันผิดทางหรือเปล่า เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐบาลทุกสมัยต่างใช้นโยบายบริหารประเทศ พารัฐนาวารูปขวานเล่มทอง ไปตามแนวนโยบายเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม-บริโภคนิยม (Mass consumption) โดยอาศัยระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบนับหัว (Mass democracy) เป็นกลไกในการบริหารประเทศมาตลอด

เห็นหรือยัง ว่าส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาวะโดยรวมของประชาชนไปมากมายเท่าไหร่แล้ว นับตั้งแต่ การผลาญพร่าทรัพยากรอย่างกว้างขวาง สุขภาพร่างกายของประชาชนโดยรวมทรุดโทรมลง สภาพจิตใจของประชาชนตกต่ำไร้ความสุข ความละอายและเกรงกลัวต่อความชั่วลดลง ผู้คนมีความเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น ศีลธรรมถดถอย เห็นการเอารัดเอาเปรียบ และการคดโกงเป็นความชอบธรรม สื่อมวลชน และการสื่อสารมวลชน ตกอยู่ภายใต้อำนาจ และอิทธิพลที่ไม่ชอบธรรม ระบบการศึกษาก็ไม่ช่วยให้คนฉลาดขึ้นเลย

ดังนั้น การพัฒนาประเทศแนววัตถุนิยม หรือระบบเศรษฐกิจทุนนิยม กับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ ประชาธิปไตยดังที่เป็นอยู่ ได้สร้างปัญหาทางสังคมที่สลับซับซ้อนขึ้น

รากเหง้าของปัญหาของมนุษย์ เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ (1) เกิดความต้องการแล้วสนองตอบไม่เพียงพอ และ (2) เกิดความต้องการแล้ว และแม้สนองตอบเพียงพอแล้ว ก็ยังเกิดความต้องการอีกไม่สิ้นสุด สรุปใจความว่า การสนองตอบความต้องการนั้นไม่ใช่หนทางทำให้ปัญหาของมนุษย์หมดไป เพราะเป็นวิธีการไล่ตามหลังปัญหา จึงอนุมานได้ว่า "ความต้องการ" นี่แหละคือ "ตัวปัญหา" ที่แท้จริง หาใช่ "การสนองตอบ" ไม่ ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาของมนุษย์นั้นผิดมาตั้งแต่ต้น
Stop Mass Consumption - Start Sufficient Lifestyle

จากสมการ ที่ว่า "ทุกข์-ปัญหาชีวิต = ความต้องการ / การสนองตอบความต้องการ" อธิบายได้ว่า "ความต้องการ" แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความต้องการพื้นฐาน เช่น ต้องการเครื่องใช้ปัจจัยสี่ สวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น ส่วนความต้องการส่วนเกิน ก็คือต้องการสิ่งที่ปรุงแต่งความรู้สึกที่หรูหรา อลังการ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เสื้อผ้า ของใช้ บ้าน และการรักษาพยาบาลก็ตาม ทั้งหมดทำให้เกิดแนวคิดในการตอบโจทย์ปัญหาความทุกข์ แตกแยกออกเป็น 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 "สนองตอบความต้องการส่วนเกิน + เพิ่ม ความต้องการส่วนเกิน" วิธีคิดแบบนี้มุ่งสร้างกระแสหรือกระตุ้นความอยากที่เป็นส่วนเกินของมนุษย์ เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด กระบวนการผลิต ให้ได้มาซึ่งวัตถุ สิ่งของ เครื่องอำนวยความสะดวก ด้วยการใช้กลยุทธ์ ในการสื่อสารหลากหลายวิธี ที่จะหลอกล่อ มอมเมา ทั้งใช้อำนาจบังคับ ทั้งสร้างกระแสนิยม ทั้งรณรงค์ ตลอดจนทุ่มงบประมาณ ในการแข่งขันการสื่อสารทางการตลาด สุดแล้วแต่จะสรรหา วิธีการมาใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่า สิ่งที่พูดพ่นปนกันออกมาทางสื่อนั้น เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้คนบริโภคสิ่งของเหล่านั้นในปริมาณมากๆ (mass consumption) อันเป็นหนทางในการสร้างผลกำไร ให้แก่ผู้ประกอบการ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนทรัพยากรที่ร่อยหรอลงไป
แนวทางที่ 2 "ลด ความต้องการส่วนเกิน + สนองตอบความต้องการด้านสวัสดิภาพของชีวิตและทรัพย์สิน" บรรดาความสุข ความทุกข์ทั้งหลาย มันมีธรรมชาติของมัน คือเกิดขึ้นแล้ว สักพักก็ดับสลายไป ไม่ใช่ของเที่ยงแท้แน่นอน มันเป็นเพียง "ความรู้สึกสุข" หรือ "ความรู้สึกทุกข์" จึงเป็นส่วนเกินของชีวิตแน่ๆ ที่จะต้องกำจัดไปเสียให้พ้นๆ ส่วนความทุกข์อันเกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกาย ความกังวลใจอันเนื่องมาจากภัยต่างๆ เช่น โจรภัย วาตภัย อุทกภัย หรือภัยจากอาชญากรรมต่างๆ อันนี้ไม่ใช่ความต้องการส่วนเกิน แต่เป็นสวัสดิภาพที่มนุษย์สมควรได้รับการคุ้มครอง จากผู้นำหรือผู้ที่เป็นหัวหน้า จะต้องตอบสนองมิให้พวกเขาเกิดความกลัว หรือได้รับภัยอันตรายที่กำลังจะเกิด หรือเกิดขึ้นแล้ว

วิธีคิดแบบแนวทางที่ 2 ดูจะสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มิใช่แนวคิดที่แปลกแยก หรือปิดกั้นการพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และมิใช่ศัตรูกับระบบทุนนิยมตะวันตก แต่จะเป็นสิ่งเกื้อหนุนให้คนในโลกอยู่ร่วมกันและอยู่รอดได้อย่างผาสุก
ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทย คนไทย ควรจะเข็ดหลาบกันเสียทีกับการเดินผิดทาง ก่อนที่ลูกหลานไทยในอนาคตจะเป็น "คนกลายพันธุ์" จากที่เคยพึ่งพา และผูกพันกับเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติ กลายเป็น พึ่งพาวัตถุและเทคโนโลยี แล้วจะพบความสงบสุขได้จากที่ไหน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ส่วนวัตถุต่างๆ มันไม่มีชีวิตจิตใจ
ก็นับว่ายังโชคดี ที่ไม่ถลำตัวไปมากกว่านี้ ต่อจากนี้ไป ก็ต้องช่วยกันเยียวยาบาดแผลต่างๆ โดยเฉพาะบาดแผลอันร้าวลึกที่เกิดแก่เยาวชนของประเทศเมืองพุทธแห่งนี้ อย่าให้หลงและถลำตัวไปกับลัทธิเอาอย่าง ลัทธิบ้าบริโภคอีกต่อไป
สร้างคนดี ให้คนดีไปสร้างชาติ
สถานศึกษา เป็นที่รวมของคนดี มีแบบอย่างที่ดีให้ "ลอกเลียน" และ"เรียนรู้" ตั้งมากมาย จงเป็นผู้ "สู่รู้" แต่ในสิ่งที่ดี ส่วนสิ่งที่ไม่ดี ก็อย่าไปสู่รู้มันเลย ประตูมหาวิทยาลัย เปิดไว้ต้อนรับคนที่พร้อมจะมาซักฟอกเอาความไม่รู้ (อวิชชา) ออกไป แล้วเอา "ความรู้" "ความดี" ใส่เข้าไปในจิตวิญญาณและฟูมฟักความรู้ ความดีเหล่านั้น ให้เป็น "ความงาม" ให้แก่ชีวิต ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีภารกิจและบทบาทหลัก 3 ประการ คือ
(1) "สร้างคน" คือจัดการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม
(2) "ค้นคว้าวิจัย" คือศึกษาวิจัย ผลิตตำราสำหรับนักศึกษาและประชาชน
(3) "ให้บริการสังคม" รวมทั้งส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมด้วย
ภารกิจทั้งสามประการ สอดคล้องกับแนวศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยิ่ง ด้วยการนำกระบวนการจัดการความรู้ มาเป็นเครื่องมือสร้างองค์ความรู้ต่างๆ คือ (1) เรียนรู้จากการปฏิบัติ (2) พัฒนาศักยภาพ จากการเรียนรู้และปฏิบัติจริง
สิ่งที่ต้องเรียนรู้ ก็เริ่มที่เรียนรู้ชีวิต และเป้าหมายของชีวิต ว่าชีวิตคืออะไร เกิดมาทำไม สิ่งที่ปรารถนาสูงสุดของชีวิตคืออะไร ที่จะนำพาไปสู่ความดีงาม ความถูกต้อง สิ่งที่เป็นแบบฝึกหัดให้ปฏิบัติ คือ สถานการณ์จริง และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน สถานที่สำหรับฝึกหัดเรียนรู้ที่ดีที่สุด ก็คือตัวของผู้เรียนเองนั่นแหละ (ถ้ารู้จักตัวเองมากเท่าไร ก็จะรู้จักคนอื่นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ "ความอยาก" นั่นแหละตัวปัญหาละ) การเรียนรู้จากองค์กรที่ผู้เรียนสังกัดเป็นสมาชิกอยู่ จะทำให้ชีวิตเกิดความสงบสุข ความสามัคคี ความมีน้ำใจ.
ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ในการพัฒนาสังคม*
(1) "สังคมไม่ทอดทิ้งกัน" ด้วยการสร้างภราดรภาพให้เกิดขึ้น รื้อฟื้น "น้ำใจ" ให้ไหลหลั่ง ให้พรูพรั่งท่วมท้น โถมทับ "น้ำเงิน" ที่พาคนหลงเพลิน หลงเสพ หลงยึด จนเป็นบ่อนทำลายวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม และคอยกัดกร่อนทุนทางสังคมลงไปทุกวันๆ
(2) "สังคมเข้มแข็ง" คือ การส่งเสริมให้สมาชิกและชุมชน สามารถจัดการตนเอง พึ่งตนเอง ร่วมกันสร้าง ผลิต เพื่อใช้สอยในชุมชนก่อน เป็นกิจกรรมที่บูรณาการเอาความรัก ความดี ความเป็นภราดรภาพ (พี่น้อง) และความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน ไปบริหารจัดการตนเอง ให้มีวิถีชีวิตอย่างพอเพียงและมีความผาสุก
(3) "สังคมคุณธรรม" สังคมอุดมปัญญา ซึ่งข้อนี้คือภารกิจอันสำคัญของมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ควรบรรจุไว้ในหลักสูตรกันเลยทีเดียว
ยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน จะเกิดขึ้นได้ ด้วยการผสานความร่วมมือจากองค์กรภาคี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาคธุรกิจ กลุ่มภาคประชาสังคม และกลุ่มภาครัฐ (ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค) โดยแสวงจุดร่วมกันตรงที่ ภาคธุรกิจที่เคยมุ่งแสวงกำไร ก็ให้ "ลด" กำไรลง และคืนไปให้แก่สังคมบ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนพื้นที่ ตอบแทนทรัพยากร ตอบแทนเวลาและความรัก ที่ตนเคยไปเบียดเบียนและแสวงประโยชน์เอามา ภาคประชาสังคม จะเป็นผู้ดำเนินการสร้างความเข้มแข็ง จากการเรียนรู้ และรวมพลังกัน โดยที่ภาครัฐจะเป็นเพียงผู้คอยให้การสนับสนุน เปิดโอกาสให้กระบวนการต่างๆ ดำเนินไปภายใต้การจัดการดูแล และพึ่งพาตนเองของชุมชน รัฐจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือใช้อำนาจจัดการใดๆ
ทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ เป็นทั้งตัวเร่ง และตัวเสริมให้คุณธรรม ดำรงอยู่ต่อไป เพื่อให้การใช้ชีวิตพอเพียง เป็นมาตรฐานใหม่ของลูกหลานไทย แล้วเรื่องปราบปรามอบายมุข ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ส่วนในรั้วมหาวิทยาลัย ก็มีกิจกรรมให้ทำตั้งมากมาย เช่น "รักน้องจริง อย่าชวนน้องดื่ม น้องเป็นปลื้มถ้าพี่ไม่ดื่มไม่สูบ" หรือจะวิธีนี้ "เมาไม่ขับ" ถ้าทำได้แล้วก็ขยับไปเป็น"งดเหล้า เข้าพรรษา" หรือไม่ก็ "สวมใส่มิดชิด เพื่อชีวิตพอเพียง" ฯลฯ
มหาวิทยาลัย คือสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ต่างไปจากวัดหรือธรรม-สถาน ดังนั้น ทุกคนควรเห็นคุณค่าและความสำคัญ หันมาร่วมกันพัฒนาทั้งคุณภาพและคุณธรรม ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุขให้ได้ จึงจะเป็นผู้มีคุณธรรมนำใจอย่างแท้จริง อย่าทำลายสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้กันเลย เพราะถ้ามหาวิทยาลัย กลายเป็นที่ซ่องสุมคนไม่ดี ทั้งขี้เกียจขี้โกง คงต้องเปลี่ยนชื่อเรื่องเสียใหม่เป็น "จะสร้างคนดี เริ่มที่ครอบครัว จะปราบคนชั่ว เริ่มที่มหาวิทยาลัย" ฟังแล้วบอกตรงๆ ว่า "รับ - ไม่ - ได้" จริงๆ.


เศรษฐกิจพอเพียงกับชีวิตประจำวัน



ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือยึดความพอดี พอเพียง พอควร เป็นที่ตั้ง อย่าทำอะไรให้ล้นเกินพอดี เศรษฐกิจพอเพียงอธิบายอย่างง่ายที่สุด คือ ถ้ากินมากก็จุก ไม่กิน หรือกินน้อยก็หิวโหย ทำอะไร ให้พอดี แต่ต้องทำอย่างเต็มศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์“..พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเองคนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..”


เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน




พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า”
(พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 11 สิงหาคม พศ. 2548 ณ.ศาลาดุสิดาลัย)
เมื่อปี พศ.2545 สมเด็จพระราชินีได้เสด็จ ณ.โรงเรียนบ้านหนองหินตั้ง ต.นาเหล่า อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู เพื่อเยี่ยมเยือนราษฎรท่านทรงมีพระเมตตากับราษฎร ที่บ้านหนองหินตั้ง และ หมู่บ้านใกล้เคียง และปี พศ.2545 ท่านทรงมีพระเมตตากับราษฎรบ้านหนองหินตั้งทรงได้มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริก่อสร้างทำนบดิน ขุดลอกห้วยซำปาคาด ณ.บริเวณพื้นที่ ไร่คุณเหรียญ (ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ) ความจุ 40000 ลูกบาศก์เมตร มอบให้ ณ.วันที่ 1 สิงหาคา พศ.2545 โดยกระทรวงกระเษตรและสหกรณ์ และมีประชาชนในหมู่บ้านรวมทั้งหมู่บ้าน ใกล้เคียง เข้ามาใช้น้ำและหาปลาเพื่อยังชีพ และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นวันลอยกระทง ฯลฯ นางเหรียญ ศรีวังแจ ก็ยังได้พัฒนาสวนและเดินตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในแนวทางเศรษกิจพอเพียง โดยทำเกษตรผสมผสาน และพึ่งตนเองแบบพอเพียงโดยทำมาเป็นเวลานาน จนถึง ณ.ปัจจุบัน พศ. 2552 เดือนมกราคม ณ.ไร่คุณเหรียญ จากสวนเกษตร (ไร่คุณเหรียญ) ได้พัฒนามาเป็น แหล่งเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งตนเอง เพื่อเป็นศูนย์กลาง อบรม แหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน และเผยแพร่การสอนทำเกษตรแบบเศรษฐกิจ พอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีชื่อว่า “ ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ ”

ศูนย์์ป่ารักษ์น้ำแหล่งเรียนรู้ชุมชนทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิตที่เป็นจริงกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะวิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพออยู่พอกินตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้อง การเรียนรู้ของชุมชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และพัฒนาแบบพึ่งตนเองเป็นศูนย์ฯของประชาชนที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชนที่จะก่อ ให้เกิด ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน
:: ความหมายของ ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ “ มีน้ำ มีป่าชีวิตก็เพียงพอ ”::
เพื่อให้การดำเนินการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลท้องถิ่นตลอดจนองค์กรเอกชนต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประ สิทธิผลต่อการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนของมนุษย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตฉบับที่ 10 ในการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มิคุณค่าและคุณภาพในด้านต่างๆนั้น จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชากรของประเทศ ให้มีความรู้ มีประสบการณ์ มีทักษะ มีคุณธรรมในการบริหารตนเองชุมชน & องค์กรฯ ประเทศชาติทั้งในด้านผู้นำและผู้ตาม อย่างถูก ต้อง จึงจะส่งผลให้สังคมประเทศชาติมีเสถียรภาพมีความสงบสุขอย่างยั่งยืนและถาวร จากหลักฐานในเบื้องต้น ชุมชน ท้องถิ่นจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรม แหล่งเรียนรู้ทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิตที่เป็นจริงกับระบบเศรษฐกิจ สังคมให้มากที่สุด สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะวิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการ บริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดหนองบัวลำภู ภายใต้ วิสัยทัศน์ “ หนองบัวลำภูเมืองน่าอยู่ เคียงคู้รู้ค่าธรรมชาติ ชาญ ฉลาดทำกิน ดินแดนสันติสุข ในการนำวิสัยทัศน์ข้างต้นของจังหวัดมา ดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างคนในชุมชน ให้เข้าใจวิถีเศรษฐกิจพอเพียง จึงจัดตั้งศูนย์กลางเพื่อเรียนรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสร้าง ภาคีเครือข่าย เชื่อมโยง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง จึงมีการจัดตั้งศูนย์ฯแห่งนี้ขึ้น